|
หลักการและเหตุผล |
|
|
|
การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อช่วยให้นักวิชาการและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการวิจัยของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยและนักวิชาการอื่นๆ รวมทั้งนักศึกษาและผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ ยังนับเป็นโอกาสที่จะสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งทางวิชาการ การเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แก่องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจได้นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นกลไกที่สนับสนุนให้มีการใช้องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ
การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อช่วยให้นักวิชาการและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการวิจัยของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยและนักวิชาการอื่นๆ รวมทั้งนักศึกษาและผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ ยังนับเป็นโอกาสที่จะสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งทางวิชาการ การเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แก่องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจได้นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นกลไกที่สนับสนุนให้มีการใช้องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ |
|
|
|
|
|
วัตถุประสงค์ |
|
|
- เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์และผู้ที่สนใจ ของวิทยาลัยและหน่วยงานที่เป็นสถาบันร่วมจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ
- เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการกับหน่วยงานภายนอก
|
|
|
|
|
กลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมโครงการ |
จำนวน 250 คน ประกอบด้วย |
|
|
- อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชน
- นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ
- นักศึกษาระดับปริญญาตรี อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้สนใจทั่วไป
|
|
|
|
|
|
|
|
14 พฤษภาคม พ.ศ.2565 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ |
|
|
|
|
|
|
|
- ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม
- ด้านบริหารธุรกิจ โลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว
- ด้านกฎหมาย การเมือง และการปกครอง
- ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม
- ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ
|
|
|
|
|
การพิจารณาผลงาน |
|
พิจารณาผลงานโดยคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก/ผู้ช่วยศาสตราจารย์/รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ที่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มสาขานั้นๆ ทั้งจากภายในและภายนอกสถาบัน พิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุม ภายหลังจากการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจักมีการรวบรวมบทความวิจัยที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะเป็นบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings) แบบ Full paper |
|
|